วางเเผนการเงินไม่ใช่เเค่เรื่องของคนรวย คนไม่มียิ่งต้องทำ!

Last updated: 26 พ.ค. 2566  |  1254 จำนวนผู้เข้าชม  | 

วางเเผนการเงินไม่ใช่เเค่เรื่องของคนรวย คนไม่มียิ่งต้องทำ!

"วางเเผนการเงินไม่ใช่เเค่เรื่องของคนรวย" คนไม่มียิ่งต้องทำ!

ทำไมถึงต้องวางแผนการเงิน?

FORMONEY ขอยกตัวอย่างจากสถานการณ์ Covid-19 ที่ส่งผลกระทบต่อหลายธุรกิจทั้งระงับกิจการชั่วคราวหรือปิดตัวถาวรกันไปบ้าง ทำให้สถานะทางการเงินของหลายๆ คนเข้าขั้นวิกฤตมีแแต่รายจ่าย ไม่มีรายรับเข้ามา แสดงให้เห็นได้ชัดว่าคนที่มีการวางแผนทางการเงินมาตลอด ยังพอเอาตัวรอดได้จากเงินออมไว้ใช้ยามฉุกเฉิน

นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไม เราจึงต้องวางเเผนทางการเงิน

ส่วนคนที่ชักหน้าไม่ถึงหลัง ใช้เงินเเบบเดือนชนเดือน จนไม่มีเงินเก็บเลยสักบาทแถมหนี้สินที่พ่วงมาอย่างพะรุงพะรังยิ่งต้องวางเเผนการเงินเลยครับ ถ้าเราไม่มีการวางเเผน เงินก็จะไหลออกจากกระเป๋าเรื่อยๆ โดยไม่รู้ตัวเป็นเเบบนี้อีกกี่สิบปีก็ยังไม่มีเงินเก็บเเน่ๆ

ทำงานหนักเเล้วก็ต้องใช้เงิน เพราะไม่อยากเก็บไว้ใช้ตอนเเก่?

FORMONEY เข้าใจถึงปัญหาเเละความต้องการของทุกคน เมื่อเราทำงานหาเงินด้วยน้ำพักน้ำแรง การซื้อความสุขหรือให้รางวัลตัวเองบ้างก็ไม่ใช่เรื่องผิด ถ้าการซื้อนั้นเป็นไปตามอย่างมีสติ อยู่ในงบที่เราจ่ายไหว ไม่ได้เกินตัว เเต่อย่าตามใจตัวเองบ่อยเกินไป เดี๋ยวจะไม่หลือเงินเก็บไว้ใช้ยามบั้นปลาย ของบางอย่างก็ต้องอดเปรี้ยวไว้กินหวาน ถึงอย่างไรก็ต้องเก็บออมเผื่อไว้ในยามเกษียณกันด้วยนะครับ

อยากเริ่มวางเเผนการเงิน ควรทำอย่างไร?

FORMONEY ขอเสนอ 5 วิธีวางเเผนการเงิน สำหรับมือใหม่หัดออม ดังนี้ครับ

1. หยุดก่อหนี้ อันดับเเรกคือการทำเช็คลิสต์สำรวจหนี้สินมีอะไรบ้าง จัดลำดับความสำคัญเเล้วทยอยสะสางให้ใด โดยเฉพาะหนี้ที่ก่อให้เกิดรายจ่ายเพิ่ม เช่น หนี้บัตรเครดิต ดอกเบี้ยเเพงๆ ยิ่งต้องรีบเคลียร์ให้จบให้เร็วที่สุดเเละ’’หยุดก่อหนี้เพิ่ม’’ จะได้เริ่มเก็บเงินสักที

2. ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เรื่องพื้นฐานที่เราเคยทำตั้งเเต่สมัยประถมฯ อย่างบัญชีรายรับ-รายจ่าย จะช่วยให้เราวางแผนการเงินได้อย่างราบรื่น หมั่นบันทึกให้เป็นนิสัยคอยสังเกตรายจ่ายส่วนไหนที่ไม่จำเป็น ก็ตัดออกไปบ้าง หมายถึงให้ลด ละ เลิกการใช้จ่ายรายการนั้นบ้างครับ รายรับต้องมากกว่ารายจ่าย การเงินจึงจะไม่มีปัญหา

3. เงินเดือนออกปุ๊บ หักออกทันที
สำหรับบางคนยังเข้าใจผิดว่าเงินออมคือเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายเเต่ละเดือน เเต่จริงๆ เเล้วเงินออมต้องถูกหักออกจากรายรับเเล้วส่วนที่เหลือค่อนนำไปใช้จ่ายตางหาก
ท่องไว้เลยครับ ‘’ รายได้ - เงินออม = ค่าใช้จ่าย’’ ดังนั้นพอเงินเข้าเเล้วให้หักออกไปเข้าบัญชีออมทันที หากยังมีภาระหนี้สินเยอะให้หักสัก 10% เเต่ถ้าเริ่มบริหารจัดการได้เเล้วก็เพิ่มเป็นเป็น 20% ได้ครับ

4. ตั้งเป้าหมายทางการเงิน
หลังจากเริ่มมีเงินออมเเล้ว สเต็ปต่อไปก็คือการจัดการเงินออมเเละตั้งเป้าหมายครับ เช่น เงินออมสำรองยามฉุกเฉิน ออมเพื่อการลงทุน ออมเพื่อซื้อบ้าน/รถ ออมเพื่อท่องเที่ยวต่างประเทศ เงินออมในยามเกษียณ ฯลฯ เป้าหมายเหล่านี้จะช่วยให้การออมเงินของเราเเน่วเเน่มากขึ้น

5. ลงทุนให้งอกเงย
เมื่อการเงินของเราเริ่มมีสภาพคล่องเเล้ว ก็สามารถนำเงินออมส่วนหนึ่งมาลงทุนได้ครับ
ซึ่งก็มีหลายหลายประเภททั้งการฝากบัญชีออมทรัพย์ ซื้อสลาก กองทุนรวม พันธบัตร หุ้นทองคำ อสังหาริมทรัพย์ ฯลฯ เเล้วเเต่ว่าใครขะเลือกลงทุนเเบบไหน แต่อย่าลืมศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุนด้วยนะครับ

Powered by MakeWebEasy.com