Last updated: 26 พ.ค. 2566 | 1801 จำนวนผู้เข้าชม |
ธุรกิจ SMEs เป็นองค์กรที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านเศรษฐกิจและสังคม โดย SMEs ย่อมาจากคำว่า Small and Medium Enterprises หมายถึง ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ประกอบไปด้วย คณะบุคคล บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยประเภทของ SME จะครอบคลุมกิจการหลัก 3 กิจการ ได้แก่
1. กิจการการผลิต ทั้งในด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และกิจการเหมืองแร่ และรูปแบบการผลิตที่ทำวัตถุดิบที่มีอยู่เดิมมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
2. กิจการการค้า กิจการที่เกี่ยวกับการค้า ทั้งกิจการค้าส่งและกิจการค้าปลีก รูปแบบกิจการนี้จะมุ่งเน้นไปที่การค้าขายเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ครอบคลุมไปถึงกิจการการผลิต
3. กิจการบริการ กิจการเกี่ยวกับร้านค้า ร้านอาหาร สถานบันเทิงและกิจการที่เกี่ยวกับการบริการทั้งหมด
ธุรกิจแบบไหนถึงจัดว่าเป็นธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม?
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้กำหนดลักษณะการแบ่งประเภทของ SME ขนาดกลางเเละขนาดย่อม จากรายได้และอัตราการจ้างงาน ซึ่งสามารถแบ่งได้ ดังนี้
การแบ่งประเภท SME วิสาหกิจขนาดกลาง
กิจการการผลิต รายได้ 500 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 200 คน
2. กิจการการค้า รายได้ 300 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 100 คน
3. กิจการการบริการ รายได้ 300 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 100 คน
การแบ่งประเภท SME วิสาหกิจขนาดย่อมโดยในที่นี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
วิสาหกิจรายย่อย (Micro) และวิสาหกิจรายย่อม
1. กิจการการผลิต
วิสาหกิจรายย่อย (Micro) รายได้ 1.8 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 5 คน
วิสาหกิจรายย่อม รายได้ 100 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 50 คน
2. กิจการการค้า
วิสาหกิจรายย่อย (Micro) รายได้ 1.8 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 5 คน
วิสาหกิจรายย่อม รายได้ 50 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 30 คน
3. กิจการการบริการ
วิสาหกิจรายย่อย (Micro) รายได้ 1.8 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 5 คน
วิสาหกิจรายย่อม รายได้ 50 ล้านบาท อัตราการจ้างงานไม่เกิน 30 คน
แม้ SME จะถูกจัดเป็นวิสากิจขนาดกลางและขนาดย่อม แต่กลับมีบทบาทเป็นตัวเชื่อมระหว่างธุรกิจขนาดใหญ่และธุรกิจขนาดกลางถึงเล็ก ป้องกันการผูกขาดในระบบเศรษฐกิจ เนื่องจาก SME จะเป็นผู้นำเทรนด์คิดค้นและผลิตสินค้าใหม่ ๆ ออกมาสู่ตลาดอยู่เสมอทำให้เกิดการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียม
20 ก.ย. 2564